เมนู

อรรถกถาปริสาสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปริสาสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พาหุลฺลิกา น โหนฺติ ความว่า ไม่เป็นผู้มักมากด้วย
ปัจจัย. บทว่า น สาถลิกา คือ ไม่รับสิกขา 3 ทำให้ย่อหย่อน. บทว่า
โอกฺกมเน นิกฺขิตตฺธุรา ความว่า นิวรณ์ 5 เรียกว่า โอกกมนะ เพราะ
หมายความว่า ทำให้ตกต่ำ (ภิกษุผู้เถระ) เป็นผู้ทอดทิ้งธุระในนิวรณ์ซึ่งทำ
ให้ตกต่ำเหล่านั้น. บทว่า ปวิเวเก ปุพฺพงฺคมา ความว่า เป็นหัวหน้าใน
วิเวก 3 อย่าง กล่าวคือ กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก. บทว่า
วิริยํ อารภนฺติ ได้แก่ เริ่มความเพียรทั้ง 2 อย่าง. บทว่า อปฺปตฺตสฺส
ได้แก่ ไม่บรรลุคุณวิเศษ กล่าวคือ ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล. แม้
ในสองบทที่เหลือก็มีนัย นี้แล.
บทว่า ปจฺฉิมา ชนตา ได้แก่ ประชุมชนภายหลังมีสัทธิวิหาริก
และอันเตวาสิกเป็นต้น. บทว่า ทิฏฺฐานุคตึ อาปชฺชติ ความว่า ทำตาม
ที่อุปัชฌาย์และอาจารย์ได้ทำมาแล้ว. ประชุมชนภายหลังนี้ชื่อว่า ถึงการดำเนิน
ไปตามสิ่งที่ประชุมชนนั้นได้เห็นมาแล้ว ในอุปัชฌาย์อาจารย์. บทว่า อยํ
วุจฺจติ ภิกฺขเว อคฺควตี ปริสา
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้
เรียกว่า บริษัทที่มีแต่คนดี.
บทว่า ภณฺฑนชาตา แปลว่า เกิดการบาดหมางกัน. บทว่า
กลหชาตา แปลว่า เกิดการทะเลาะกัน ก็ส่วนเบื้องต้นของการทะเลาะกัน
ชื่อว่า การบาดหมางในสูตรนี้. การล่วงเกินกันด้วยอำนาจ (ถึงขนาด) จับมือ
กันเป็นต้น ชื่อว่า การทะเลาะกัน. บทว่า วิวาทาปนฺนา ได้แก่ ถึงการ

ทุ่มเถียงกัน. บทว่า มุขสตฺตีหิ ความว่า วาจาที่หยาบคายเรียกว่า หอก
คือปาก เพราะหมายความว่าทิ่มแทงคุณ (ภิกษุทั้งหลายทิ่มแทงกันและกัน)
ด้วยหอกคือปากเหล่านั้น บทว่า วิตฺทนฺตา วิหรนฺติ คือ เที่ยวทิ่มแทงกัน.
บทว่า สมคฺคา แปลว่า พร้อมเพรียงกัน. บทว่า สมฺโมทมานา
ได้แก่มีความบันเทิงเป็นไปพร้อม. บทว่า ขีโรทกีภูตา ได้แก่ (เข้ากันได้)
เป็นเหมือนน้ำกับน้ำนม. บทว่า ปิยจกฺขูหิ ได้แก่ ด้วยจักษุอันเจือด้วย
เมตตาที่สงบเย็น.
บทว่า ปีติ ชายติ ได้แก่ ปีติ 5 ชนิด เกิดขึ้น. บทว่า กาโย
ปสฺสมฺภติ
ความว่า ทั้งนามกาย ทั้งรูปกาย เป็นอันปราศจากความกระวน
กระวาย. บทว่า ปสฺสทฺธกาโย ได้แก่ มีกายไม่กระสับกระส่าย. บทว่า
สุขํ เวทิยติ ได้แก่ เสวยสุขทั้งทางกายและทางใจ. บทว่า สมาธิยติ
ความว่า ก็จิต (ของภิกษุผู้มีความสุข) ย่อมตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์.
บทว่า ถุลฺลผุสิตเก ได้แก่ ฝนเม็ดใหญ่. ในบทว่า ปพฺพต-
กนฺทรปทรสาขา
นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ที่ชื่อว่า กันทระ ได้แก่ ส่วน
(หนึ่ง) ของภูเขาที่ถูกน้ำซึ่งได้นามว่า กํ เซาะแล้ว คือทำลายแล้ว ที่ชาวโลก
เรียกว่า นิตัมพะ (ไหล่เขา) บ้าง นทีนิกุญชะ (โตรกแม่น้ำ) บ้าง. ที่ชื่อว่า
ปทระ ได้แก่ ภูมิประเทศที่แตกระแหงในเมื่อฝนไม่ตกเป็นเวลาครึ่งเดือน.
ที่ชื่อว่า สาขา ได้แก่ ลำรางเล็กทางสำหรับน้ำไหลไปสู่หนอง. ที่ชื่อว่า
กุสุพฺภา ได้แก่ หนอง. ที่ชื่อว่า มหาโสพฺภา ได้แก่ บึง. ที่ชื่อว่า
กุนฺนที ได้แก่ แม่น้ำน้อย. ที่ชื่อว่า มหานที ได้แก่ แม่น้ำใหญ่ มี
แม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น.
จบอรรถกถาปริสาสูตรที่ 4

5. ปฐมอาชานียสูตร



ว่าด้วยองค์ 3 ของม้าต้นและของภิกษุ



[536] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนย ตัวประเสริฐของพระ-
ราชา ประกอบพร้อมด้วยองค์ 3 จึงเป็นพาหนะคู่ควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น
เท่ากับว่า เป็นองคาพยพของพระราชาทีเดียว องค์ 3 คืออะไร คือสีงาม 1
กำลังดี 1 มีฝีเท้า 1 ม้าอาชาไนยตัวประเสริฐของพระราชา ประกอบพร้อม
ด้วยองค์ 3 นี้แล จึงเป็นพาหนะคู่ควรแก่พระราชาเป็นม้าต้น เท่ากับว่าเป็น
องคาพยพของพระราชาทีเดียว
ฉันเดียวกันนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ 3
จึงเป็น (อาหุเนยฺโย) ผู้ควรของคำนับ (ปาหุเนยฺโย) ผู้ควรของต้อนรับ
(ทกฺขิเณยฺโย) ผู้ควรของทำบุญ (อญฺชลิกฺรณีโย) ผู้ควรทำอัญชลี (อนุตฺตรํ
ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส) เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า องค์ 3
คืออะไร คือวรรณะงาม 1 เข้มแข็ง 1 มีเชาว์ 1
ภิกษุวรรณะงาม เป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล
สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร เห็นภัยในโทษ
มาตรว่าน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย อย่างนี้เรียกว่า ภิกษุ
วรรณะงาม

ภิกษุเข้มแข็ง เป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ทำความเพียร
เพื่อละอกุศลธรรม บำเพ็ญกุศลธรรม แข็งขันบากบั่นมั่นคงไม่ทอดธุระใน
กุศลธรรมทั้งหลาย อย่างนี้เรียกว่า ภิกษุเข้มแข็ง